fbpx
bannerpoly.jpg
bannerpoly.jpg
bannerpoly.jpg
bannerpoly.jpg
previous arrow
next arrow

ข้อมูลจังหวัดภูเก็ต

           " ภูเก็ต " ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ขุดพบเครื่องมือหินและขวานหินเป็นการแสดงให้ทราบว่ามี มนุษย์อาศัยในดินแดนแถบนี้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี มาแล้วและได้มีหลักฐานการ กล่าวถึงดินแดนในแถบนี้อีกครั้ง เมื่อปี พ .ศ.700 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 2 ในบันทึกของนักเดินเรือ ชื่อ คลอดิอุส ปโตเลมี กล่าวถึงผืนดินหรือแผ่นดินในส่วนนี้ว่า แหลมตะโกลา เป็นผืนดินที่ถูกดันออกมาทางใต้กลายเป็นแหลมยาวๆ อยู่ส่วนปลายสุดของจังหวัดพังงา อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ของเปลือกโลกขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า รอยเลื่อนคลองมารุย (Klong Marui Fault) ซึ่งวางตัวเป็นแนวยาวจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพังงา ลงมาทางทิศตะวันออกของภูเก็ต ต่อมาได้ถูกคลื่นลมในทะเลกัดเซาะ และตัดพื้นที่ดังกล่าวนี้ ออกจากผืนแผ่นดินใหญ่ จนกลายเป็นเกาะโดยเกิดร่องน้ำระหว่างจังหวัดภูเก็ตและพังงาขึ้น ที่เรียกว่า ช่องแคบปากพระ (เป็นร่องน้ำแคบ ๆ โดยส่วนที่ลึกที่สุดลึกเพียง 8-9 เมตร ) ในปัจจุบัน

          สำหรับการเรียกขานภูเก็ตของชาวต่างประเทศ ในอดีตนอกจากจะมีปรากฎในบันทึก เมื่อปี พ .ศ.700 ของนักเดินเรือ คลอดิอุส ปโตเลมี ที่เรียกผืนดินในบริเวณนี้ว่า แหลมตะโกลา แล้ว ได้มีปรากฎหลักฐานการกล่าวถึง ผืนดินในบริเวณนี้อีกครั้ง จากบันทึก และแผนที่การเดินเรือมาเอเชียตะวันออก ของชาติยุโรป ระหว่างพ.ศ.2054-2397 เรียกผืนดินนี้ว่า จังซีลอน นอกจากนี้ ได้มีหลักฐานเกี่ยวกับการเรียกขาน ผืนดินนี้ของชาวทมิฬ์ในปี พ.ศ.1568 ว่า มณิคราม หมายถึง เมืองแก้ว ซึ่งมีความหมายตรงกับชื่อ ภูเก็จ ที่ปรากฎในจดหมายเหตุเมืองถลาง ฉบับที่ 1 ในปีพ.ศ . 2328 และได้มีการเรียกขานเรื่อย ๆ จนกลายเป็น ภูเก็ต ซึ่งได้ปรากฎในราชกิจจานุเบกษา มาตั้งแต่ พ.ศ.2450 เป็นต้นมา ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ชื่อของจังหวัดภูเก็ตที่ได้มีการกล่าวขานตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันนั้น ประกอบด้วย แหลมตะโกลา มณิคราม จังซีลอน ภูเก็จ และภูเก็ต ซึ่งในบางครั้งได้มีการเรียกขานว่า สิลัน ถลาง และทุ่งคาร่วมด้วย

 

คำขวัญประจำจังหวัด 

          " ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม "

 

การปกครอง  แบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 17 ตำบล 

          อำเภอเมืองภูเก็ต

                    - ตำบลตลาดใหญ่ (Talat Yai)
                    - ตำบลตลาดเหนือ (Talat Nuea)
                    - ตำบลเกาะแก้ว (Ko Kaeo)
                    - ตำบลรัษฎา (Ratsada)
                    - ตำบลวิชิต (Wichit)
                    - ตำบลฉลอง (Chalong)
                    - ตำบลราไวย์ (Rawai)
                    - ตำบลกะรน (Karon)

          อำเภอกะทู้

                    - ตำบลกะทู้ (Kathu)
                    - ตำบลป่าตอง (Pa Tong)
                    - ตำบลกมลา (Kamala)

          อำเภอถลาง

                    - ตำบลเทพกระษัตรี (Thep Krasattri)
                    - ตำบลศรีสุนทร (Si Sunthon)
                    - ตำบลเชิงทะเล (Choeng Thale)
                    - ตำบลป่าคลอก (Pa Khlok)
                    - ตำบลไม้ขาว (Mai Khao)
                    - ตำบลสาคู (Sakhu)

 

อาณาเขต

          ทิศเหนือ  จดช่องปากพระ จังหวัดพังงา เชื่อมโดยสะพานสารสินและสะพานท้าวเทพกษัตรีย์
          ทิศใต้  จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
          ทิศตะวันออก  จดทะเลเขตจังหวัดพังงา
          ทิศตะวันตก  จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย

 

Attachments:
FileDescriptionFile size
Download this file (ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดภูเก็ต โดย www.phuket.go.th.pdf)ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดภูเก็ตโดย www.phuket.go.th236 kB
Download this file (ข้อมูลเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ต.pdf)ข้อมูลเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตโดย กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดภูเก็ต2262 kB

ติดต่อเรา-ช่องทางร้องเรียน

 

สถานที่ตั้งวิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต

          ที่ตั้ง : เลขที่  42/20  ถนนรัตนโกสินทร์ 200 ปี ต.ตลาดเหนือ  อ.เมือง   จ.ภูเก็ต  83000

          โทรศัพท์ : 0-7622-4283

          โทรสาร :  0-7621-2741

          Website  :  http://www.polyphuket.ac.th

          E–mail : datacenterThis email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 

          

 

ประวัติสถานศึกษา

 

 ตราประจำสถานศึกษา

 

ประวัติความเป็นมา

          วิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต จัดตั้งวันที่ 16  มิถุนายน 2536 สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กรมอาชีวศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ  ปัจจุบันมีเนื้อที่รวม 11 ไร่  1 งาน 38 ตารางวา ตั้งอยู่เลขที่ 42/20  ถนนรัตนโกสินทร์ 200  ปี ตำบลตลาดเหนือ  อำเภอเมือง  จังหวัดภูเก็ต  โทรศัพท์ 0-7622-4283 โทรสาร 0-7621-2741 Website : http://www.polyphuket.ac.th   E-mail Address : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

วัตถุประสงค์การจัดการศึกษาของวิทยาลัยฯ

          คือ  การจัดการศึกษาเพื่อมุ่งให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถออกไปประกอบอาชีพได้  ทั้งในภาครัฐและเอกชน  มีความเชื่อมั่นตนเอง  ในวิชาชีพ  สามารถสร้างงานเพื่อประกอบอาชีพอิสระได้ และมีพื้นฐานความรู้เพียงพอสำหรับการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ ในการจัดการศึกษาวิทยาลัยฯ ยึดแนวทางตามปรัชญาของวิทยาลัยฯ ที่ว่า  สร้างความรู้  คู่คุณธรรม  นำการพัฒนา

          หลักสูตรที่เปิดสอน  คือ  หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกอบด้วย สาขางานเครื่องกลเรือ  สาขางานไฟฟ้ากำลัง  สาขางานอาหารและโภชนาการ  สาขางานการบัญชี  สาขางานคอมพิวเตอร์กราฟิกอาร์ต  สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขางานการท่องเที่ยว หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประกอบด้วย สาขางานเทคนิคยานยนต์ และสาขางานไฟฟ้าติดตั้ง   หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ประกอบด้วย  คณะวิชาช่างอุตสาหกรรม   คณะวิชาคหกรรม   คณะวิชาพาณิชยกรรม  คณะวิชาศิลปกรรม  หลักสูตรเสริมวิชาชีพระดับมัธยม ประกอบด้วย  วิชาจักรยานยนต์ การเดินสายไฟฟ้า งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น อาหารและขนม ขนมไทย เสริมสวย และ 108 อาชีพ

 

วิสัยทัศน์

          เป็นแหล่งเรียนรู้สู่อาชีพ  มุ่งผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพคู่คุณธรรม ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและสังคม

 

พันธกิจ

  1. จัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ และสมรรถนะของหลักสูตร โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  2. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ตามหลักธรรมาภิบาล
  3. สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือกับสถานประกอบการ ชุมชน ในการพัฒนาการจัดการศึกษาวิชาชีพ
  4. ส่งเสริมการวิจัย สร้างนวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

 

ยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร์การดำเนินงาน (Strategic Plan)

          การพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2563 วิทยาลัยฯ กำหนดแผนงานยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา 4 ยุทธศาสตร์ และ 16 กลยุทธ์ ประกอบด้วย

ยุทธศาสตร์ที่ : การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและการฝึกอบรมวิชาชีพให้มีคุณภาพมาตรฐาน

          เป้าประสงค์  ผู้เรียน  ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพมีคุณภาพ มาตรฐาน มีงานทำและดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข เป็นที่พึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

กลยุทธ์ที่ 1  พัฒนาหลักสูตร

กลยุทธ์ที่ 2  พัฒนาระบบการเรียนการสอน

กลยุทธ์ที่ 3  เพิ่มศักยภาพครูผู้สอน

กลยุทธ์ที่ 4  เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

กลยุทธ์ที่ 5  ส่งเสริมการใช้ภาษาต่างประเทศ

กลยุทธ์ที่ 6  ปรับปรุงห้องเรียน/ห้องปฏิบัติการมาตรฐาน

 

ยุทธศาสตร์ที่ : การพัฒนาระบบบริหารจัดการอาชีวศึกษา

          เป้าประสงค์  สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีคุณภาพ ได้รับการรับรองคุณภาพการศึกษาในการประเมินภายในและภายนอก

กลยุทธ์ที่ 1  พัฒนาระบบบริหารการเงินและทรัพยากร

กลยุทธ์ที่ 2  พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา

กลยุทธที่ 3  ปรับปรุงระบบโครงสร้างการบริหารงาน

 

ยุทธศาสตร์ที่ : การสร้างเครือข่ายและส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษา

          เป้าประสงค์  สถานศึกษาได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน สถานประกอบการ และชุมชนทุกภาคส่วนในการ จัดการศึกษา

กลยุทธ์ที่ 1  พัฒนาฐานข้อมูลความร่วมมือ

กลยุทธ์ที่ 2  พัฒนาศูนย์กำลังคน

กลยุทธ์ที่ 3  สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนและสังคม

กลยุทธ์ที่ 4  พัฒนาการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี

 

แผนงานยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี

          เป้าประสงค์  ผู้สอนและผู้เรียนสร้าง และพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย นำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนานักวิจัย

กลยุทธ์ที่ 2  ส่งเสริมการทำงานวิจัยและนวัตกรรม

กลยุทธ์ที่ 3  สนับสนุนการให้บริการวิชาการและวิชาชีพ ที่ส่งเสริมและพัฒนาทักษะของผู้เรียน   

  

ปรัชญา

          “สร้างความรู้   คู่คุณธรรม   นำการพัฒนา”

 

อัตลักษณ์

 

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา  

          “แหล่งเรียนรู้สู่อาชีพ”

          หมายถึง  วิทยาลัยฯ มีการจัดการศึกษา  และฝึกอบรมอาชีพให้แก่ประชาชนทุกเพศ วัย เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ด้วยหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน  และภาวะทางเศรษฐกิจ  สังคม  ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถนำความรู้และทักษะไปใช้ประกอบอาชีพ  หรือใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

 

อัตลักษณ์ของผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา

          ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต  

         “ทักษะดี  มีคุณธรรม”

          ทักษะดี  หมายถึง  เป็นผู้มีความสามารถในการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพ

          มีคุณธรรม  หมายถึง เป็นผู้มีวิน้ย ความรับผิดชอบ สามัคคี และปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

  

สีประจำวิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต

          "สีแดง และ สีฟ้า"

 

สถานที่ตั้งวิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต

          ที่ตั้ง : เลขที่  42/20  ถนนรัตนโกสินทร์ 200 ปี ต.ตลาดเหนือ  อ.เมือง   จ.ภูเก็ต  83000

          โทรศัพท์ : 0-7622-4283

          โทรสาร :  0-7621-2741

          Website  :  http://www.polyphuket.ac.th

          E–mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.